Tuesday, March 9, 2010

ประวัติระนาดเอก

ประวัติความเป็นมาของระนาดเอก


เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีนั้นมีประวัติความ เป็นมาเก่าแก่ยาวนานมากดังหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบระนาดหินซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบของ ระนาดไม้ ในยุคปัจจุบัน ระนาดหินนี้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีนั้นมีต้นกำเนิดมา
นานแล้ว ระนาดหินดังกล่าวมีอายุเก่าประมาณ3000 ปีมีลักษณะเป็น ขวานหินยาว พบที่แหล่งโบราณคดีริมฝั่งคลองกลาย หมู่ที่ 7 ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย



ขวานหินยาวนั้นเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของมนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์ คือ นำหินมากระเทาะให้เป็นแผ่นยาวหรือเป็นแท่งยาว ปลายด้านหนึ่งแต่งให้เป็นสันหนา ส่วนปลายอีกด้านจะแต่งให้บางลงจนเกิดความคมซึ่งเป็นลักษณะของ ขวานหินทั่วไปแต่มีลักษณะยาวกว่าจึงเรียกว่าขวานหิน
ยาวขวานหินยาวบางชิ้นทำจาก หินภูเขาไฟซึ่งมีส่วนผสมของแร่โลหะเวลาเคาะจะเกิดเสียงดังกังวาน และมีระดับเสียง สูงต่ำแตกต่างกันตาม
ขนาดความยาวหรือความหนาบางของขวานหิน ด้วยเหตุนี้นัก โบราณคดีจึงเรียกขวานหินยาวว่าระนาดหิน นอกจากนั้นยังได้พบระนาดหินที่ประเทศ เวียตนามจำนวน 11 ชิ้น เมื่อผู้เชี่ยวเชี่ยวชาญดนตรีพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซียได้ วิเคราะห์ความถี่ของเสียงระนาดหินจำนวน 10 ชิ้น ปรากฏว่ามีระนาดหินจำนวน 5 ชิ้น มีความถี่ของเสียงเท่ากับความถี่ของเสียงดนตรี 5 เสียงซึ่งเป็นระดับเสียงของเครื่องดน ตรีโบราณที่ใช้กันอยู่ใน
ประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่ากำเนิดของ ระนาดหินอาจเกิดจากการที่มนุษย์นำขวานหินธรรมดาซึ่งเป็นเครื่องมือใช้งานหรือเป็น อาวุธมาใช้และได้ยินเสียงที่เกิดจากการกระทบกันของเครื่องมือดังกล่าวเป็นเสียงดนตรี ที่ไพเราะน่าฟังจึงเป็นแรงจูงใจให้เกิดจินตนาการในการคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีขึ้น

สำหรับระนาดไม้นั้นน่าจะมีพัฒนาการมาจาก กรับ หรือ โกร่ง ซึ่งตามปกติใช้ ตีเพียง 2 ชิ้น แต่ได้มีการนำเอากรับซึ่งเป็นท่อนไม้สั้นๆ
จำนวนหลายชิ้นมาวางเรียงกัน แล้วใช้ไม้ตีลงไป ทำให้เกิดทำนองสูงต่ำแตกต่างกันตามขนาดความ สั้น-ยาว และ ความ หนา-บาง ของวัตถุดังเช่นเครื่องดนตรีของชาวอินโดนีเซียหรือชาวพื้นเมืองในประเทศ อาฟริกา



การนำเอาไม้กรับหลายๆอันมาวางเรียงตีนั้นน่าจะเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภท โปงลาง และ ระนาดเอก ในปัจจุบันโดยจะเห็น
ได้จากเครื่องดนตรีของคนที่อยู่ในภูมิภาคแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เช่น พม่า ลาว กัมพูชา และร่องรอยการพัฒนาการของระนาดในภูมิภาค
อื่นๆของโลกอีกหลายแห่งซึ่งก็มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่มีรูปร่างและลักษณะ คล้ายคลึงกัน เมื่อมีการนำไม้กรับขนาดต่างๆมาวางเรียงและ
ใช้ไม้เคาะเพื่อให้เกิดเสียงที่ต่าง กันแล้วจึงมีการคิดไม้รองเป็นรางเพื่อวางไม้กรับเรียงต่อๆกันไป รวมทั้งมีการพัฒนา เพื่อให้คุณภาพเสียงดีขึ้นคือแก้ไขปรับปรุงไม้กรับให้มีขนาดลดหลั่นกันโดยเรียงลำดับ ตามความสูงต่ำของเสียงและทำรางรองไม้กรับให้มีลักษณะเป็น กล่องเสียง เพื่อให้ดัง กังวานยิ่งขึ้นเรียกว่า รางระนาด แล้วใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆให้ติดกันเป็นผืน เรียกว่า ผืนระนาด ขึงแขวนไว้เหนือรางระนาด ต่อมาจึง
ประดิษฐ์แก้ไขตัดแต่งไม้กรับ ให้มีรูปร่างประณีตสวยงามและเรียกไม้กรับเหล่านี้เสียใหม่ว่า ลูกระนาด ทั้งยังได้พัฒนา วิธีการปรับแต่งระดับเสียงของไม้กรับโดยใช้ขี้ผึ้งผสมตะกั่ว แล้วลนไฟติดไว้ตรงบริเวณด้านล่างตรงส่วนหัว และส่วนท้ายของลูกระนาดเพื่อให้เกิดเสียงที่ลึกนุ่มนวลขึ้นเป็น
การ เทียบเสียงลูกระนาดเพื่อให้ได้ระดับเสียงตรงตามที่ต้องการด้วย



สรุปว่าลูกระนาดนั้นพัฒนาขึ้นมาจากไม้กรับประเภทต่างๆ ดังนั้นในหัวข้อนี้จึง ขอกล่าวถึงกรับประเภทต่างๆไว้ด้วยดังนี้
กรับ, โกร่ง ของไทยเป็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกำกับจังหวะมี เสียงดังเช่นเดียวกับชื่อคือมีเสียง ดัง กรับ-กรับ เกิดจากการกระทบกันของ
วัตถุที่ใช้ทำเช่น ไม้ โลหะ หรือ งาช้าง กรับนั้น แบ่งตามลักษณะได้เป็น 3 ชนิดคือ กรับคู่ กรับพวง และ กรับเสภา



กรับคู่ - เป็นกรับชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่ลำมะลอกหรือไม้ไผ่สีสุก เป็นต้น นำมาผ่า ซีกให้มีขนาดยาวประมาณ 45 ซม. กว้างประมาณ 5 ซม.หนา
ประมาณ 1.5 ซม.จำนวนสองท่อน ถือมือละท่อน ใช้ทางด้านผิวไม้ตีกระทบกัน มักใช้ตีกำกับทำนองร้องเวลาเล่นละครชาตรี จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า

กรับละคร นอกจากใช้ตีกำกับจังหวะแล้วยังใช้ตีเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนท่ารำ และตีให้จังหวะในพิธีการต่างๆด้วย

กรับพวง - เป็นกรับชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ผสมแผ่นโลหะบางๆ ยาวประมาณ 20 ซม. จำนวนหลายแผ่นร้อยเชือกเข้าด้วยกัน มีไม้หนา 2 ชิ้นซึ่งเรียก
ว่า "ไม้ประกับข้าง" ประกับ ไว้ด้านนอกทั้งสองข้างไม้ประกับข้างนี้มักประดิษฐ์รูปร่างให้ เหมาะกับการใช้ตีลงบนฝ่ามือ วิธีตีใช้มือหนึ่งถือแล้วตี
โดยใช้ อีกมือหนึ่งรองรับทำให้เกิดเสียงกระทบจากแผ่นไม้และแผ่น โลหะที่สอดอยู่ตรงกลางระหว่างไม้ประกับนั้น กรับพวงใช้ บรรเลงในวงมโหรี
โบราณ การเล่นเพลงเรือ และ การแสดง โขนละคร



กรับเสภา - เป็นกรับชนิดหนึ่งทำด้วยไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้ชิงชัน ลักษณะเป็นแท่ง สี่เหลี่ยมมีผิวด้านหนึ่งโค้งมนยาวประมาณ 20 ซม. กว้างประมาณ 5 ซม. หนาประมาณ 5 ซม.ใช้ขยับมือละคู่ ปัจจุบันมีนักดนตรีนำกรับที่ทำเลียนแบบกรับเสภาแต่มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ไม่มีผิวโค้งมนมาใช้ตี
เป็นจังหวะโดยตีเน้นที่จังหวะปิดหรือจังหวะเสียงตก เช่นในจังหวะ ฉิ่ง - ฉับ กรับจะตีเฉพาะที่ลงจังหวะ ฉับ เท่านั้น
ในการขับเสภาผู้ขับเสภาจะใช้กรับ 2 คู่ ถือมือละคู่ ผู้ขับเสภาจะขยับกรับ 2 คู่นี้ตามลักษณะท่วงทำนองที่เรียกชื่อด้วยคำนำหน้าว่า "ไม้" เช่น ไม้
กรอ ไม้หนึ่ง ไม้สอง ไม้รบ หรือ ไม้สี่ สำหรับ ไม้กรอ ใช้ขยับประกอบในลีลาทั่วๆไป ไม้หนึ่งและไม้สองใช้ ขยับประกอบขับเสภาบทไหว้ครูส่วน
ไม้รบ หรือ ไม้สี่ ใช้ขยับประกอบขับเสภาในลีลา รุกเร้า

โกร่ง - เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีทำด้วยไม้ท่อนยาวที่มีลักษณะกลวงอยู่ ภายในเช่นลำไม้ไผ่แห้งหรือ ท่อนไม้ขุด มีความยาวแล้วแต่ต้อง
การ เจาะเป็นร่องยาวไป ตามปล้องหรือเว้นตรงข้อก็ได้ อาจเจาะเป็นร่องทั้ง 2 ข้างหรือข้างเดียวแต่สลับปล้องกัน ก็ได้เพื่อให้ตีเสียงดังก้องขึ้น
เวลาตีวางลำท่อนไม้ราบไปตามพื้นมีท่อนไม้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/sornchai_p/ranad/sec01p04.html

1 comment: