Sunday, April 4, 2010

สยามมานุสติ


                                               เพลงสยามมานุสติ
key c 

หากสยามยังอยู่       ยั้ง ยืนยง      เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย
ม     ซลด่  ล ซม     ด่ทลซ ม       ด่ท        ล    ซ ม่    ด่ร่ด่ด่
หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤา
ร่      ซ่ด่    ทด่     ร่    ล    ฟ   ม ร
เราก็เหมือนมอดม้วย หมด   สิ้น สกุลไทย
ฟ  ม    ฟ      ล     ด่      ด่       ร่ด่  ม่ร่    ด่
ใครรานใครลุก    ด้าว แดนไทย  ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น
 ม  ซลด่  ล ซม     ด่ท   ลซ   ม     ด่     ท  ล    ซ ม่    ด่ร่ด่ด่
เสียเลือดเนื้อหลั่งไหล ยอมสละสิ้นแล
ร่    ซ่        ด่   ทด่   ร่    ล    ฟฟ   ม ร
เสียชีพไปเสียสิ้น ชื่อก้องเกียรติงาม
ฟ    ม    ฟ ลด่ ด่    ร่   ร่     ท       ด่

Wednesday, March 10, 2010

แนะนำโปรแกรมทำดนตรี

ผมเองเรียนด้านดนตรีมา ตอนเรียนอยู่อาจารย์ที่มหาลัยเขาสอนโปรแกรมทำงานด้านดนตรี ก็คือ อังกอร์ ประโยชน์คือใช้เขียนโน้ต เรียนรู้เรื่องของจังหวะ แต่ในความเป็นจ่ริงแล้วการทำงานด้านดนตรี จำเป็นต้องใช้โปรแกรมระดับเทพ เช่น ตระกูลCakewalk sonar ,Cubase ,Logic แต่ที่ผมคิดว่าง่ายหรือผมถนัดก็คือ โปรแกรม ตระกูล Cubase เพราะว่าเวลาเขียนโน้ตกลอง มันเขียนง่ายดี แล้วที่สำคัญ มี ปลั๊กอิน VST ระดับโลกเลย แล้วแต่เราจะใช้ตามความต้องการ จากง่ายไปจนถึงระดับเทพประทาน อิอิ
คนที่กำลังจะทำงานเพลงในโปรแกรม ผมแนะนำว่าควรเรียนรู้เรื่องของอัตราจังหวะ การเขียนโน้ต ก่อน เพราะว่ามันจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้ด้านนี้ในการทำงาน ส่วนรายละเอียดในการทำดนตรีด้วยโปรแกรม Cubase sx3 ที่ผมใช้จะมาแนะนำอีกทีครับ ผมเองก็ไม่ถือว่าเก่ง พอทำได้นิดๆหน่อยๆ แต่ก็อยากแบ่งปันความรู้ให้กับผู้ที่สนใจครับ สู้ๆพี่น้อง....

Tuesday, March 9, 2010

เพลงลอยกระทง

เพลงลอยกระทง *-* เป็นเพลงที่เรารู้จักมาตั้งแต่เด็กๆ ร้องตั้งแต่ชั้นอนุบาลแล้ว..หรือเอาไว้สอนเด็กนักเรียนก็ได้
เรามาลองเล่นเพลงนี้กันดูนะ....


เพลงลอยกระทง
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำในคลองเต็มตลิ่ง พวกเราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริงวันลอยกระทง
ซ ซม ซ ล ด ร ด ล ซ ซ ม ม ซ ล ด ล ด ซล ด ร ด ล ซ ซ
ลอย ลอย กระทง ลอยลอย กระทง ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
ด่ ด่ ด่ ด่ ซ ซ ซ ซ ด่ ด่ ด่ ร่ ม่ ม่ ร่ ด่ ล ซ ล ด่ ร่
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ
ม่ ม่ ม่ ม่ ม่ ม่ ด่ ด่ ด่ ด่ ด่ ด่ ด่ ล ซ ล ด่ ล ด่ ด่ ล ซ ล ด่ ล ด่

ประวัติระนาดเอก

ประวัติความเป็นมาของระนาดเอก


เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีนั้นมีประวัติความ เป็นมาเก่าแก่ยาวนานมากดังหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบระนาดหินซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบของ ระนาดไม้ ในยุคปัจจุบัน ระนาดหินนี้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีนั้นมีต้นกำเนิดมา
นานแล้ว ระนาดหินดังกล่าวมีอายุเก่าประมาณ3000 ปีมีลักษณะเป็น ขวานหินยาว พบที่แหล่งโบราณคดีริมฝั่งคลองกลาย หมู่ที่ 7 ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย



ขวานหินยาวนั้นเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของมนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์ คือ นำหินมากระเทาะให้เป็นแผ่นยาวหรือเป็นแท่งยาว ปลายด้านหนึ่งแต่งให้เป็นสันหนา ส่วนปลายอีกด้านจะแต่งให้บางลงจนเกิดความคมซึ่งเป็นลักษณะของ ขวานหินทั่วไปแต่มีลักษณะยาวกว่าจึงเรียกว่าขวานหิน
ยาวขวานหินยาวบางชิ้นทำจาก หินภูเขาไฟซึ่งมีส่วนผสมของแร่โลหะเวลาเคาะจะเกิดเสียงดังกังวาน และมีระดับเสียง สูงต่ำแตกต่างกันตาม
ขนาดความยาวหรือความหนาบางของขวานหิน ด้วยเหตุนี้นัก โบราณคดีจึงเรียกขวานหินยาวว่าระนาดหิน นอกจากนั้นยังได้พบระนาดหินที่ประเทศ เวียตนามจำนวน 11 ชิ้น เมื่อผู้เชี่ยวเชี่ยวชาญดนตรีพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซียได้ วิเคราะห์ความถี่ของเสียงระนาดหินจำนวน 10 ชิ้น ปรากฏว่ามีระนาดหินจำนวน 5 ชิ้น มีความถี่ของเสียงเท่ากับความถี่ของเสียงดนตรี 5 เสียงซึ่งเป็นระดับเสียงของเครื่องดน ตรีโบราณที่ใช้กันอยู่ใน
ประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่ากำเนิดของ ระนาดหินอาจเกิดจากการที่มนุษย์นำขวานหินธรรมดาซึ่งเป็นเครื่องมือใช้งานหรือเป็น อาวุธมาใช้และได้ยินเสียงที่เกิดจากการกระทบกันของเครื่องมือดังกล่าวเป็นเสียงดนตรี ที่ไพเราะน่าฟังจึงเป็นแรงจูงใจให้เกิดจินตนาการในการคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีขึ้น

สำหรับระนาดไม้นั้นน่าจะมีพัฒนาการมาจาก กรับ หรือ โกร่ง ซึ่งตามปกติใช้ ตีเพียง 2 ชิ้น แต่ได้มีการนำเอากรับซึ่งเป็นท่อนไม้สั้นๆ
จำนวนหลายชิ้นมาวางเรียงกัน แล้วใช้ไม้ตีลงไป ทำให้เกิดทำนองสูงต่ำแตกต่างกันตามขนาดความ สั้น-ยาว และ ความ หนา-บาง ของวัตถุดังเช่นเครื่องดนตรีของชาวอินโดนีเซียหรือชาวพื้นเมืองในประเทศ อาฟริกา



การนำเอาไม้กรับหลายๆอันมาวางเรียงตีนั้นน่าจะเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภท โปงลาง และ ระนาดเอก ในปัจจุบันโดยจะเห็น
ได้จากเครื่องดนตรีของคนที่อยู่ในภูมิภาคแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เช่น พม่า ลาว กัมพูชา และร่องรอยการพัฒนาการของระนาดในภูมิภาค
อื่นๆของโลกอีกหลายแห่งซึ่งก็มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่มีรูปร่างและลักษณะ คล้ายคลึงกัน เมื่อมีการนำไม้กรับขนาดต่างๆมาวางเรียงและ
ใช้ไม้เคาะเพื่อให้เกิดเสียงที่ต่าง กันแล้วจึงมีการคิดไม้รองเป็นรางเพื่อวางไม้กรับเรียงต่อๆกันไป รวมทั้งมีการพัฒนา เพื่อให้คุณภาพเสียงดีขึ้นคือแก้ไขปรับปรุงไม้กรับให้มีขนาดลดหลั่นกันโดยเรียงลำดับ ตามความสูงต่ำของเสียงและทำรางรองไม้กรับให้มีลักษณะเป็น กล่องเสียง เพื่อให้ดัง กังวานยิ่งขึ้นเรียกว่า รางระนาด แล้วใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆให้ติดกันเป็นผืน เรียกว่า ผืนระนาด ขึงแขวนไว้เหนือรางระนาด ต่อมาจึง
ประดิษฐ์แก้ไขตัดแต่งไม้กรับ ให้มีรูปร่างประณีตสวยงามและเรียกไม้กรับเหล่านี้เสียใหม่ว่า ลูกระนาด ทั้งยังได้พัฒนา วิธีการปรับแต่งระดับเสียงของไม้กรับโดยใช้ขี้ผึ้งผสมตะกั่ว แล้วลนไฟติดไว้ตรงบริเวณด้านล่างตรงส่วนหัว และส่วนท้ายของลูกระนาดเพื่อให้เกิดเสียงที่ลึกนุ่มนวลขึ้นเป็น
การ เทียบเสียงลูกระนาดเพื่อให้ได้ระดับเสียงตรงตามที่ต้องการด้วย



สรุปว่าลูกระนาดนั้นพัฒนาขึ้นมาจากไม้กรับประเภทต่างๆ ดังนั้นในหัวข้อนี้จึง ขอกล่าวถึงกรับประเภทต่างๆไว้ด้วยดังนี้
กรับ, โกร่ง ของไทยเป็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกำกับจังหวะมี เสียงดังเช่นเดียวกับชื่อคือมีเสียง ดัง กรับ-กรับ เกิดจากการกระทบกันของ
วัตถุที่ใช้ทำเช่น ไม้ โลหะ หรือ งาช้าง กรับนั้น แบ่งตามลักษณะได้เป็น 3 ชนิดคือ กรับคู่ กรับพวง และ กรับเสภา



กรับคู่ - เป็นกรับชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่ลำมะลอกหรือไม้ไผ่สีสุก เป็นต้น นำมาผ่า ซีกให้มีขนาดยาวประมาณ 45 ซม. กว้างประมาณ 5 ซม.หนา
ประมาณ 1.5 ซม.จำนวนสองท่อน ถือมือละท่อน ใช้ทางด้านผิวไม้ตีกระทบกัน มักใช้ตีกำกับทำนองร้องเวลาเล่นละครชาตรี จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า

กรับละคร นอกจากใช้ตีกำกับจังหวะแล้วยังใช้ตีเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนท่ารำ และตีให้จังหวะในพิธีการต่างๆด้วย

กรับพวง - เป็นกรับชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ผสมแผ่นโลหะบางๆ ยาวประมาณ 20 ซม. จำนวนหลายแผ่นร้อยเชือกเข้าด้วยกัน มีไม้หนา 2 ชิ้นซึ่งเรียก
ว่า "ไม้ประกับข้าง" ประกับ ไว้ด้านนอกทั้งสองข้างไม้ประกับข้างนี้มักประดิษฐ์รูปร่างให้ เหมาะกับการใช้ตีลงบนฝ่ามือ วิธีตีใช้มือหนึ่งถือแล้วตี
โดยใช้ อีกมือหนึ่งรองรับทำให้เกิดเสียงกระทบจากแผ่นไม้และแผ่น โลหะที่สอดอยู่ตรงกลางระหว่างไม้ประกับนั้น กรับพวงใช้ บรรเลงในวงมโหรี
โบราณ การเล่นเพลงเรือ และ การแสดง โขนละคร



กรับเสภา - เป็นกรับชนิดหนึ่งทำด้วยไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้ชิงชัน ลักษณะเป็นแท่ง สี่เหลี่ยมมีผิวด้านหนึ่งโค้งมนยาวประมาณ 20 ซม. กว้างประมาณ 5 ซม. หนาประมาณ 5 ซม.ใช้ขยับมือละคู่ ปัจจุบันมีนักดนตรีนำกรับที่ทำเลียนแบบกรับเสภาแต่มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ไม่มีผิวโค้งมนมาใช้ตี
เป็นจังหวะโดยตีเน้นที่จังหวะปิดหรือจังหวะเสียงตก เช่นในจังหวะ ฉิ่ง - ฉับ กรับจะตีเฉพาะที่ลงจังหวะ ฉับ เท่านั้น
ในการขับเสภาผู้ขับเสภาจะใช้กรับ 2 คู่ ถือมือละคู่ ผู้ขับเสภาจะขยับกรับ 2 คู่นี้ตามลักษณะท่วงทำนองที่เรียกชื่อด้วยคำนำหน้าว่า "ไม้" เช่น ไม้
กรอ ไม้หนึ่ง ไม้สอง ไม้รบ หรือ ไม้สี่ สำหรับ ไม้กรอ ใช้ขยับประกอบในลีลาทั่วๆไป ไม้หนึ่งและไม้สองใช้ ขยับประกอบขับเสภาบทไหว้ครูส่วน
ไม้รบ หรือ ไม้สี่ ใช้ขยับประกอบขับเสภาในลีลา รุกเร้า

โกร่ง - เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีทำด้วยไม้ท่อนยาวที่มีลักษณะกลวงอยู่ ภายในเช่นลำไม้ไผ่แห้งหรือ ท่อนไม้ขุด มีความยาวแล้วแต่ต้อง
การ เจาะเป็นร่องยาวไป ตามปล้องหรือเว้นตรงข้อก็ได้ อาจเจาะเป็นร่องทั้ง 2 ข้างหรือข้างเดียวแต่สลับปล้องกัน ก็ได้เพื่อให้ตีเสียงดังก้องขึ้น
เวลาตีวางลำท่อนไม้ราบไปตามพื้นมีท่อนไม้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/sornchai_p/ranad/sec01p04.html

เพลงมหาฤกษ์

....... เพลงมหาฤกษ์ ไม่ได้เขียนไว้ในห้องเพลง ให้ศึกษาทำนองเอาเองก่อนนะครับ แล้วฝึกตามโน้ต
โน้ตอาจไม่ตรงเปะ เพราะผมเขียนให้เด็กนักเรียนฝึกเป่า ง่ายๆ...แต่ได้จังหวะจ้า........++++

มหาฤกษ์
ดดด ซด รม มมม รม ฟซ ด่ลซฟ ซล ลลล ฟฟซล
ด่ร่ด่ล ซม ซลซม รด รรมดรมฟซ ซลซลซซ
รดดลรดด ซลซม รมซ มมม รรรม ซมรด มรดล ดดรม รมซ ด่
ด่ด่ด่ ซลด่ร่ ด่ร่ม่ซ่ร่ ม่ม่ร่ด่ร่ ร่ร่ร่ด่ร่ม่ร่ด่ด่ ม่ม่ม่

Tuesday, March 2, 2010

โน้ตเพลงเดือนเพ็ญ

มาแล้วจ้า วันนี้เอาเนื้อเพลงพร้อมโน้ตมาให้ ตั้งใจฝึกนะครับ

เพลงเดือนเพ็ญ

เดือนเพ็ญแสงเย็นเห็นอร่าม นภาแจ่มนวลดูงาม เย็นยิ่งหนอยามเมื่อลมพัดมา
ล ล ล ซ ซ ฟ ร ร ด ด ด ร ฟ ซ ล ด่ ซ ล ด่ ร่ ล
แสงจันทร์นวลชวนใจข้า คิดถึงถิ่นที่จากมา คิดถึงท้องนาบ้านเรือนที่เคยเนา
ด่ ล ซ ฟ ฟ ร ร ด ด ด ร ฟ ซ ล ด่ ซ ฟ ร ดร ฟ
กองไฟสุมควายตามคอก คงยังไม่มอดดับดอก จันทร์เอยช่วยบอกให้ลมช่วยเป่า
ล ล ล ซ ฟ ร ร ด ด ด ร ฟ ซ ล ด่ ซ ล ด่ ร่ ล
โหมไฟให้แรงเข้า พัดไล่ความเยือกเย็นหนาว ให้พี่น้องเรานอนหลับอุ่นสบาย
ด่ ล ซ ฟ ร ร ด ด ด ร ฟ ซ ล ด่ ซ ฟ ร ดร ฟ
เรไรร้องฟังดังว่า เสียงเจ้าที่เฝ้าคอยหา ลมเอ๋ยช่วยมากระซิบข้างกาย
ล ล ล ซ ฟ ร ร ด ด ด ร ฟ ซ ล ด่ ซ ล ด่ ร่ ล
ข้ายังคอยอยู่มิหน่าย มิเลือนจากเดือนเคลื่อนคลาย คิดถึงมิวายที่เราจากมา
ด่ ล ซ ฟซ ร ร ด ด ด ร ฟ ซ ล ด่ ซ ฟ ร ด ฟ
ลมเอยจงเป็นสื่อให้ น้ำรักจากห้วงดวงใจ ของข้านี้ไปบอกเขานะนา
ล ล ล ซ ฟ ร ร ด ด ด ร ฟ ซ ล ด่ ซ ล ด่ ร่ ล
ให้คนไทยรู้ว่า ไม่นานลูกที่จากมา จะไปซบหน้าในอกแม่เอย.
ด่ ล ซ ฟร ร ด ด ด ร ฟ ซ ล ด่ ซ ฟ ร ด ฟ

......... โน้ตไม่ตรงเนื้อเพลงก็ไปปรับแต่งเอานะ อิอิ....

Sunday, January 31, 2010

ค้างคาวกินกล้วย

เพลงค้างคาวกินกล้วย เป็นเพลงที่มีจังหวะสนุกสนาน โนัตก็ไม่ยากควรลองฝึกกับเครื่องดนตรีที่เล่นง่ายๆ  อย่างเช่นขลุ่ยครับ หวังว่าเพื่อนๆคงจะเล่นได้  มีอยู่สามท่อนจ้า...



เพลงค้างคาวกินกล้วย

ท่อน ๑

     | -
- | ซ ซ - มํ | - - ซํ มํ | - - รํ มํ | - - ซํ มํ | - - รํ มํ | ซํ มํ รํ ดํ | - รํ - มํ |

     | -
- | ซ ซ - มํ | - - ซํ มํ | - - รํ มํ | - - ซํ มํ | - - รํ มํ | ซํ มํ รํ ดํ | - รํ - ดํ |

ท่อน ๒

     | - - - - | -
รํ - รํ | - - มํ รํ | ดํ รํ - - | - มํ - รํ | - ดํ - | ล ซ ล ท | - ดํ - รํ |

     | - - - - | -
รํ - รํ | - - มํ รํ | ดํ รํ - - | - ดํ รํ มํ | ซํ มํ รํ ดํ | รํ มํ รํ ดํ | - - |

ท่อน ๓

     | - - - - | -
- | ซ ล ดํ ล | ซ ม - | - - | ซ ม - | ล ซ ม ซ | ล ดํ - |

     | - - - - | -
- | ซ ล ดํ ล | - | - - | ซ ม - | - มํ - รํ | ซํ มํ มํ มํ |

Thursday, January 21, 2010

ประวัติเพลงสรรเสริญพระบารมี
เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมี อยู่ก่อนแล้ว จนในกระทั้ง สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่พระองค์ทรงเสด็จประพาสเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์นั้น เหล่าทหารอังกฤษใด้ใช้เพลง God Save the Queen ในการรับเสด็จ  ต่อมา เมื่อทรงเสด็จไปยังเมืองปัตตาเวีย ชาวฮอลันดาที่ตั้งอาณานิคมที่นั้น ได้ถามถึงเพลงประจำชาติของไทย เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ กระนั้น จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทย ให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จ ขณะนั้น ครูดนตรีไทย ได้เสนอเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งมีการประพันธ์ไว้ในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร แต่งคำร้องเพื่อประกอบทำนองเพลงเป็นโคลง และให้ ปโยตร์ สซูโรฟสกี้ แต่งทำนองเพลงตามเพลง God Save the Queen ซึ่งโปรดมาก ครั้นที่ฟังที่สิงคโปร์ และยังได้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นิพนธ์หลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน  ต่อมา เมื่อถึงสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้นำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเอาไว้ มีบทร้องขึ้นต้นว่าเช่นเดิม แต่เปลี่ยนคำว่า ฉะนี้ ให้เป็น ไชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้กันจนถึงปัจจุบัน

เพลงสรรเสริญพระบารมี


คำร้อง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ทำนอง : พระเจนดุริยางวงค์ (ปิติ วาทยะกร)

ข้า วรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน

ฟ ซฟซล ฟ ฟ ม ฟ ม ฟล ซ

นบพระภูมิบาลบุญดิเรก เอกบรมจักริน

ซ ล ซลฟ ซ ฟซล ล ซลซลด่ล

พระสยามินทร์พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล

ร่ ด่ร่ฟ่ด ร่ ด่ร่ฟซ ซ ซซ ท์ ล ซลฟ

ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์

ซ ฟ ซ ล ฟ ซ ซ ฟ ซ ล ฟมร

ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง

ซ ฟ ฟ ร่ ด่ ร่ฟ่ ด่ ร่ ด่ท์ ด่

หวังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ช โย

ด่ ร่ด่ท์ด่ ร่ ฟซลด่ ซ ฟ ฟ